ทำความรู้จักเมทัลชีทบลูสโคปและเมทัลชีททั่วไป

ความแตกต่างของเมทัลชีททั่วไปกับบลูสโคปเมทัลชีท ว่ามีแตกต่างกันอย่างไร ข้อดีและข้อเสีย และเหมาะกับการใช้งานประเภทไหน

บูลสโคป

ถ้าพูดถึงการสร้างบ้าน คนส่วนใหญ่จะนึกถึงรูปแบบของบ้านก่อนเป็นอันดับแรก หรือโครงสร้างบ้านอื่นๆ และมักจะคิดถึงหลังคาเป็นสิ่งเกือบสุดท้าย ทั้งๆ ที่หลังคาเป็นสิ่งที่ใช้ปกป้องบ้านจากแดด ลม และฝน ซึ่งปัจจุบัน หลังคาบ้านมีให้เลือกมากมายหลายแบบ ทั้งหลังคาไม้ หลังคากระเบื้อง รวมไปถึงหลังคาที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักการแต่งบ้านก็คือ หลังคาเมทัลชีท

เมทัลชีทเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้มุงหลังคา เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทันสมัย มีสีสวยงาม ติดตั้งง่าย และสะท้อนความร้อนได้ดี ทำให้บ้านหรือภายในอาคารมีความเย็นสบาย และยังประหยัดพลังงานได้อีก ไม่ว่าจะสร้างบ้านหลังใหม่ หรือปรับปรุง ซ่อมแซม เมทัลชีทเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม แต่ก่อนจะเลือกเมทัลชีทใช้งาน เราควรศึกษาถึงคุณสมบัติของเมทัลชีทแต่ละประเภทก่อน เพื่อจะได้เ้ลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ

เมทัลชีท คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียมและสังกะสี คำนี้เกิดจากการนำคำภาษาอังกฤษ 2 คำมารวมกันคือ Metal ที่แปลว่า โลหะ และ Sheet ที่แปลว่า แผ่น เมื่อนำมารวมกันจึงแปลได้ว่า เป็นแผ่นโลหะหรือ Metal Sheet ที่เราเรียกกันนั่นเอง นิยมนำมาใช้งานภายนอกและภายใน เช่น มุงหลังคา ทำผนังกั้น โดยเมทัลชีทมีคุณสมบัติเด่นก็คือ สามารถสั่งผลิตได้ตามยาวของหลังคา ทำให้เกิดรอยต่อน้อย ลดปัญหาการรั่วซึมได้ดีกว่ากระเบื้องมุงหลังคาธรรมดา น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย สามารถช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างได้

เมทัลชีทมีทั้งหมดกี่แบท

เมทัลชีทในตลาดมีรูปแบบลอนให้เลือกหลายแบบมาก แต่ละแบบก็มีระบบการติดตั้งที่แตกต่างกัน วิธีการเลือกลอนนั้นส่วนใหญ่แล้วจะดูเรื่องความสวยงาม พร้อมกับดูเรื่องความลาดเอียงของโครงสร้างหลังคา ขนาดของหลังคา ควาามยาว เป็นต้น เมทัลชีทจะแบ่งตามระบบการติดตั้ง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท

  1. ระบบติดตั้งแบบยิงสกรู (Bolt System) - เป็นระบบที่ใช้การยิงสกรูยึดระหว่างแผ่นเมทัลชีทกับโครงสร้างหลังคา ส่วนใหญ่นิยมใช้แบบนี้เพราะติดตั้งได้ง่าย

  2. ระบบไม่ใข้สกรู (BoltlessSystem) - เป็นการติดตั้งที่ใช้ขายึดหรือคอนเน็กเตอร์จะไม่มีการใช้สกรู เจาะ วิธีนี้จะช่วยลดการรั่วซึมได้ดีกว่าระบบยิงสกรู

เมทัลชทบลูสโคป (Bluescope) คือ

เมทัลชีทบลูสโคป เป็นแผ่นเหล็กชุบสังกะสีและอลูมิเนียม ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการกัดกร่อน และทนต่อการเกิดสนิม มีอายุการใช้งานยาวนาน มีคุณภาพสูง เหมาะกับการใช้งานโครงสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม

ความแตกต่างระหว่างเมทัลชีทบลูสโคปและเมทัลชีททั่วๆ ไป

เป็นปกติที่วัสดุก่อสร้างแม้แต่จะเป็นชนิดเดียวกัน แต่ก็มีคุณสมบัติที่ต่างกัน สำหรับเมทัลชีทแบบทั่วไปและเมทัลชีทบลูสโคปก็มีให้เลือกหลายแบบ ทั้งความหนา ขนาดลอน ชั้นเคลือบวัสดุต่างๆ ความแตกต่างในรายละเอียดเหล่านี้จะมาเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพในการป้องกันแดด ป้องกันฝน ป้องกันเสียงรบกวน ป้องกันความร้อน และอายุการใช้งาน เรามาดูกันว่า เมทัลชีทบลูสโคปและเมทัลชีททั่วไปมีความแตกต่างกันด้านใดบ้าง

  1. ความแข็งแรงของตัววัสดุ สำหรับเมทัลชีทบลูสโคป จะผลิตจากเหล็กกล้าแรงดึงสูง ที่นำมาผ่านกระบวนการรีดเย็น ทำให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการเสียรูปได้ดีกว่าเมทัลชีททั่วไป

  2. การเคลือบสี สำหรับการเคลือบสีของเมทัลชีทบลูสโคป จะเป็นการนำแผ่นเหล็กเคลือบโลหะอลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี มาเคลือบด้วยชั้นเคลือบผิวประสานโลหะและสี ทำให้ชั้นสีติดกับชั้นโลหะได้เป็นอย่างดี วิธีนี้จะช่วยป้องกันการหลุดลอกของสี แถมยังช่วยลดการกัดกร่อนได้ดีกว่าเมทัลชีทธรรมดาถึง 4 เท่า และยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่าเมทัลชีททั่วไป และด้วยเทคโนโลยีการเคลือบสีนี้ ทำให้เมทัลชีทบลูสโคปกันความร้อนได้ดีกว่าเมทัลชีททั่วไปอีกด้วย

  3. มีความหนาให้เลือกหลากหลาย แผ่นเมทัลชีทบลูสโคปมีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าเมทัลชีททั่วไปแต่ชั้นเคลือบที่หนาของบลูสโคปสามารถกันสนิทได้ดีกว่า ผิวเรียบเนียนกว่า และดูสวยงามกว่า จึงเหมาะในการนำไปมุงหลังคาบ้านหรืออาคารสำนักงาน แม้ว่าจะแพงแต่ถ้ามองกันในระยะยาว เมทัลชีทบลูสโคปน่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

วิธีเลือกเมทัลชีทให้เหมาะกับงาน

  1. ดูที่ลอน ลอนของแผ่นเมทัลชีทจะมีทั้งลอนสูง ลอนเล็ก ลอนรูปกระเบื้อง ลอนสำหรับผนัง ผู้ใช้งานสามารถเลือกจากลอนนี้ให้เหมาะกับประเภทของงานได้ โดยมีหลักในการเลือก
    • หากเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ควรเลือกเเผ่นเมทัลชีทที่มีลอนเล็กและลอนเตี้ย เพื่อความสมส่วน
    • หากอยู่ในพื้นที่ๆ ต้องปะทะกับลมแรงๆ หรือเป็นพื้นที่ๆ ฝนตกชุก ควรเลือกเมทัลชีทที่มีลอนสูง เพื่อช่วยระบายน้ำได้ดี
    • เลือกเมทัลชีทให้เหมาะกับสไตล์ของบ้าน เพราะเมทัลขีทนอกจากจะช่วยกันร้อน แล้วมันยังสามารถใช้เป็นของตกแต่งบ้านได้อีกด้วย

  2. เลือกจากความหนา ความหนาที่แตกต่างของแผ่นเมทัลชีท มีผลต่อความแข็งแรงและระยะห่างของแป ก่อนการเลือกซื้อควรเช็คให้ดีก่อนว่า
    หลังคามีความหนาที่เหมาะสมหรือไม่ และตัวแผ่นเมทัลชีทที่เลือกนั้นมีสเปกตรงกับหลังคาหรือไม่
    • สำหรับที่พักอาศัยชั่วคราวที่มีหลังคาขนาดเล็ก ควรเลือกใช้เมทัลชีทที่มีความหนา 0.23-0.28 มม,
    • สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ที่มีการต่อเติมโรงจอดรถ กันสาด ควรเลือกเมทัลชีทที่มีความหนาตั้งแต่ 0.30-0.35 มม.
    • สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก-กลาง ควรใช้เมทัลชีทที่มีความหนา 0.35-0.40 มม.
    • สำหรับโรงงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการงานหลังคาที่มีคุณภาพสูง ให้เลือกใช้ความหนา 0.40-0.47 มม.
    • สำหรับโรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่ ที่หลังคามีระยะแป 2.5 เมตร ควรเลือกใช้เมทัลชีทที่มีความหนา 0.47 มม. ขึ้นไป

  3. เมทัลชีทเคลือบสีและเมทัลชีทไม่เคลือบสี สำหรับเมทัลชีทที่ไม่เคลือบสีจะมีสีเงินและมีราคาถูกที่สุดในบรรดาเมทัลชีททั้งหมด มีความทนต่อสนิมในระดับหนึ่ง ส่วนเมทัลชีทที่มีการเคลือบสีและสารปรับผิว จะป้องกันสนิมได้ดีกว่า และมีอายุการใช้งานที่นานกว่า

  4. ระบบการติดตั้ง สามารถเลือกได้จากระบบการติดตั้ง ที่มีทั้งระบบยิงสกรู ระบบไม่ยิงสกรู ซึ่งได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว

  5. มีการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม ควรเลือกซื้อเมทัลชีทที่มีการรับรองมาตรฐาน มอก. หรือเลือกซื้อกับบริษัท ตัวแทนจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นที่ยอมรับ


อย่างเช่นที่ บริษัท เจตริน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้จัดจำหน่ายและออกแบบติดตั้ง สร้างโรงงาน อาคาร ด้วยสินค้าคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล อบ่าง เมทัลชีทบลูสโคป โดยนวัตกรรมใหม่จากต่างประเทศ และทีมงาน สถาปนิค วิศวกร มืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่สามารถให้คำแนะนำให้กับลูกค้าทั้งองค์กรขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยเรามีบริการ สำรวจพื้นที่ วางแปลนอาคาร ร่างแบบภาพ 3D ประเมินงบประมาณ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

หากสนใจรับคำแนะนำและปรึกษาการเลือกวัสดุหรือแบบอาคาร โรงงาน สามารถแอดไลน์มาได้ที่ 063 193 8298 หรือติดต่อผ่านทางเว็บของเราได้ที่ www.jettrinengennering.co.th วัสดุก่อสร้างแต่ละชนิดมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกัน การเลือกใช้วัสดุแต่ละประเภท ควรคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก การปรึกษาผู้เชี่ยวเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราเลือกวัสดุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

ติดต่อบริการออกแบบติดตั้งโกดังสำเร็จรูป ที่จอดรถสำเร็จรูป ที่พักคนงานสำเร็จรูป
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :

Jettarin Engineering Co.,Ltd
Tel. : 092-546-5532
Tel. :  +66 75-329-039 (Office)
Line ID : @jet65
Website : www.jettarinengineering.co.th