กฎหมายกับการสร้างโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป ที่ต้องรู้

เอกสารประกอบการขออนุญาตที่คุณจำเป็นต้องเตรียมกับการสร้างโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป

กฎหมายสร้างโกดัง

การอยากมีโกดังเก็บสินค้าของตัวเองเป็นความฝันของนักธุรกิจหลาย ๆ คน ที่อยากจะขยายหรือเพิ่มเติมความสะดวกในการเก็บสินค้า บางคนเลือกใช้วิธีการเช่าอาคารพาณิชย์เก็บสินค้า บางคนเลือกที่จะเช่าโกดัง แต่บางคนก็เลือกที่จะสร้างเอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องการก่อสร้าง ก็จะมีข้อระเบียบกฎหมายอีกมากมายที่ต้องรู้ก่อนจะทำการก่อสร้าง ไม่ใช่แค่โกดังหรือโรงงาน แต่การสร้างหอพัก คอนโด หรือแม้แต่บ้านของเราก็ต้องดูข้อกฎหมาย เพราะ ถ้าหากเราสร้างแบบไม่ดูข้อกฎหมาย อาจจะถูกสั่งรื้อถอนภายหลังก็เป็นได้

ก่อนอื่นคุณต้องทราบก่อนว่า โรงงานสำเร็จรูป โกดังสำเร็จรูปที่คุณกำลังจะสร้างนั้น อยู่ในพื้นที่ที่อนุญาติให้สร้างได้หรือไม่ ทางที่ดีควรเลือกที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแบบเฉพาะทางก่อนที่จะเริ่มลงทุนสร้างโกดังอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งกฎหมายสร้างโกดังเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายควบคุมอาคาร เราได้รวบรวมนำมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโกดังเอาไว้ ดังนี้

อาคารโกดังที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร จะกำหนดระยะร่นตามเงื่อนไข คร่าว ๆ ระยะห่างจากถนนสาธารณะ โดยวัดจากความกว้างของถนนสาธารณะ 3 ระดับดังนี้

  • หากถนนสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนน อย่างน้อย 6 เมตร
  • ความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ เช่นกว้าง 10 เมตร ควรร่นเข้ามา 1 เมตร
  • เกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

นอกจากที่คุณจะรู้ในข้อกฎหมายของการเว้นพื้นที่ห่างจากถนนสาธารณะแล้ว คุณต้องรู้ในเรื่องของเขตพื้นที่การก่อสร้าง


สามารถสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้ ซึ่งจะเแบ่งออกเป็น 3 ประเภทโดยประมาณได้แก่

  1. พื้นที่เขต นิคมอุตสาหกรรม
    นิคมอุตสาหกรรม หรือ (นอ.) คือ เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ตัวอ่างเช่น เขอุตสหกรรมนิคมบางปู หรือเขตอุสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งในพื้นที่ก็จะประกอบด้วย

    • พื้นที่อุตสาหกรรม

    • สิ่งอำนวยความสะดวก
    • สาธารณูปโภค เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ศูนย์การค้าขนาดเล็ก ที่พักอาศัย สำหรับนักงาน สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็ก คือจะมีความสะดวกค่อนข้างครบเลยทีเดียว

  2. เขตอุตสาหกรรม หรือ เขตประกอบอุตสาหกรรม
    เขตอุตสาหกรรม หรือ เขตประกอบการอุตสาหกรรม (ขอ.) เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ขยายเพิ่มขึ้น ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 การพัฒนาพื้นที่ ต้องได้รับการพิจารณาและประกาศกำหนดเขตประกอบการอุตสาหกรรมจากกระทรวงอุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายโรงงาน

  3. สวนอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม(สอ.)
    เป็นที่ดินหรือพื้นที่ส่วนบุคคลที่ถูกพัฒนาขึ้น บริหารหรือจำหน่ายโดยบุคคลธรรมดา


นอกจากเรื่องพื้นที่อุตสาหกรรมแล้ว ความรู้เรื่อง พรบ.โรงงาน (ฉบับพ.ศ. 2535) ต้องทราบก่อนว่าโรงงานที่จะสร้างเป็นโรงงานประเภทใด แบ่งออกหลัก ๆ 3 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ประกอบกิจการได้เลยทันที
ประเภทที่ 2 ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนประกอบกิจการ
ประเภทที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนประกอบกิจการ หรือใบ รง.4
(คือเอกสารการขออนุญาตอุตสาหกรรมจังหวัดและมีเอกสารบางส่วนต้องประสานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่)


เมื่อคุณทราบว่าโรงงานที่จะสร้างเป็นโรงงานประเภทใดแล้วจึงจะพิจารณาข้อกฏหมายอื่นต่อไป

ข้อแรก : เริ่มจาก ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติของท้องถิ่น การประกอบกิจการที่เป็นอันตราย ตาม พรบ.สาธารณสุข 2535 ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการเอาเอกสารโครงสร้างมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวล้อม เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ โดยชุมชุมต้องผ่านการเห็นชอบด้วย และต้องทำEIAโดยภาครัฐเท่านั้น

ข้อสอง : พิจารณาในส่วนของ พรบ.ผังเมืองของพื้นที่ ที่คุณจะทำการสร้างโกดัง ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่ไปกับข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติของท้องถิ่น หากในผังเมืองห้ามตั้งอาคารโรงงานประเภทที่จะสร้างก็จบตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มไม่สามารถขออนุญาตสร้างได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาประกอบกับ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ในส่วนหน้าที่พรบ.ผังเมือง จะกำหนดเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคต และการกำหนดแนวทางการก่อสร้าง และยังต้องคำนึงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัย สวัสดิภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม โดยการแบ่งเป็นโซนผังพิ้นที่สีต่างๆ และจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามประกาศผังเมืองของแต่ละจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศอีกด้วย

พรบ.ควบคุมอาคาร หรือกฎหมายควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายมหาชน ที่จำเป็นต้องมีเพื่อรักษาประโยชน์ ความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการก่อสร้าง และสังคม โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวแก่การปลูกสร้างอาคาร สร้างโรงงานสำเร็จรูป สร้างโกดังสำเร็จรูป โดยกำหนดขนาดประเภทและชนิดอาคาร อัตราส่วนอาคารต่อพื้นที่ ระยะร่น ระยะห่างจากถนนสาธารณะ ระยะร่นจากแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น เพื่อรักษาความเรียบร้อยของชุมชน

ผังสีในการกำหนดเขตก่อสร้าง ตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถูกแบ่งออกเป็น 9 สี ซึ่งในความหมายของพื้นที่แต่ละสีตามกฎหมายถูกแบ่งไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าพื้นที่สีอะไรควรก่อสร้างสิ่งใด เช่น โรงงานสารเคมี ไม่ควรใกล้แหล่งชุมชน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น

  1. เขตพื้นที่สีเหลือง
    คือ เขตพื้นที่ห่างจากการอยู่อาศัย หรือมีการอยู่อาศัยประเภทบ้านพักหรือชุมชนในปริมาณที่น้อยครัวเรือน ถือเป็นเขตพื้นที่ที่สนับสนุนให้พัฒนา อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ สำนักงาน สถานสงเคราะห์เลี้ยงสัตว์ โรงแรม สถานพยาบาล สถานศึกษา หรือที่อยู่อาศัย

  2. เขตพื้นที่สีส้ม
    เขตพื้นที่สีส้มนี้ จะมีปริมาณชุมชนการอยู่อาศัยหนาแน่นขึ้นอีกระดับ สามารถก่อสร้างได้เหมือนกับพื้นที่สีเหลืองทุกอย่าง แต่ข้อกำหนดที่แตกต่งอย่างเดียวคือ ห้ามก่อสร้างสถานสงเคราะห์สัตว์เลี้ยง

  3. เขตพื้นที่สีน้ำตาล
    เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยจำนวนมาก พื้นที่โซนนี้จะเหมาะสำหรับการก่อสร้าง บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด

  4. เขตพื้นที่สีแดง
    เขตพื้นที่สีนี้ เป็นเขตประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สามารถใช้ทำประโยชน์เพื่อ การพาณิชกรรม เพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ ห้ามก่อสร้างกิจการโรงแรม สุสาน หรือว่าขนส่ง

  5. เขตพื้นที่สีม่วง
    เขตพื้นที่สีม่วงนี้ เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เหมาะกับผู้ที่อยากก่อสร้างโกดัง หรือโรงงานสำเร็จรูป หากใครที่ต้องการอยากจะสร้างคลังสินค้า ต้องก่อสร้างในพื้นที่เขตสีม่วง และไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างรุกพื้นที่เขตสีอื่นๆ คุณสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ทันที

  6. เขตพื้นที่สีม่วงอ่อน
    เขตพื้นที่สีม่วงอ่อนนี้ หรือเขตพื้นที่ อ.๓ จะสนับสนุนให้สร้างคลังสินค้าโดยเฉพาะ ประเภทธุรกิจโลจิสติก การจัดสรรพื้นที่ในเขตสีนี้จะง่ายต่อภาคขนส่งอีกด้วย

  7. เขตพื้นที่สีเขียว-ลาย (ขาว-เขียว)
    เขตพื้นที่สีเขียวลายนี้ คือ เขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและการเกษตรกรรม เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนมากหากเทียบทั้งประเทศไทย เพราะแม่การทำเกษตรกรรมที่สุด

  8. เขตพื้นที่สีเขียว
    เขตพื้นที่สีเขียวนี้ เป็นเขตสีพื้นที่เพื่อการชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมได้ สามารถสร้างแบ่งแยกที่ดินได้ 100 วา ตามกฎหมายการจัดสรรที่ดินประเภทนี้เพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัย และการธารณูปโภคเป็นหลัก

  9. เขตพื้นที่สีน้ำเงิน
    เขตพื้นที่สีน้ำเงินนี้ ใช้เพื่อสำหรับ สถาบันราชการ การสาธารณูปการ โดยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะประโยชน์ เท่านั้น

ตัวอย่างเอกสารประกอบการขออนุญาตที่คุณจำเป็นต้องเตรียม

  1. แบบขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (แบบ ข.๑)
  2. สำเนาบัตรประชาชน
    สำเนาบัตรประชาชนของ ผู้ขอ อนุญาต จำนวน 1 ชุด
    สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาโฉนดที่ดิน ที่ทำการก่อสร้าง (ขนาดเท่าตัวจริง) จำนวน 2 ชุด
  4. แบบแปลน ผังบริเวณและรายการประกอบแปลน (ต้องมีลายเซ็นต์ของสถาปนิกและวิศวกร)
  5. หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  6. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  7. หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพ “สถาปัตยกรรม”
    (กรณีเข้าข่ายต้องควบคุมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. สถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508)
  8. สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ “สถาปัตยกรรม”
  9. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีที่เจ้าของอาคารไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
  10. หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
    (กรณีที่อาคารก่อสร้างชิดเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เช็นติเมตร)


แต่ถ้าหากมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมเอกสารรจะไม่ใช่ขั้นตอนที่น่าเบื่ออีกต่อไป อย่าง เจตริน เอ็นจิเนียริ่ง บริษัทรับเหมาก่อสร้างโรงงานจะคอยดูแลให้บริการทั้งด้านคำปรึกษา ออกแบบ และรับสร้างโรงงาน โกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป ด้วยนวัตกรรมจาก BLUE Scope (บลูสโคป)ที่นำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมทีมงานที่มากประสบการณ์ครอบคลุมหลายด้าน ถ้าคุณสนใจสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ข้อมูลด้านล่างได้ทันที

ติดต่อบริการออกแบบติดตั้งโกดังสำเร็จรูป ที่จอดรถสำเร็จรูป ที่พักคนงานสำเร็จรูป
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :

Jettarin Engineering Co.,Ltd
Tel. : 092-546-5532
Tel. :  +66 75-329-039 (Office)
Line ID : @jet65
Website : www.jettarinengineering.co.th